จำปาสักเมืองโบราณที่มีประวัติและตำนานที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน เมืองจำปาสักอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ได้เสียให้กับฝรั่งเศสที่ได้ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไป ไทยเองไม่อยากเป็นผู้พ่ายแพ้สงครามจึงยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่เพราะถ้าหากเมืองเสรียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ จำปาสักและไชยบุรียังเป็นของไทย นครวัด นครธม หลี่ผี ไนแองการ่าเอเชียคอนพระเพ็งสร้างชื่อเสียงและได้ผลประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวไม่น้อย
นครจำปาสักมีการย้ายเมืองอยู่หลายครั้งปรากฏหลักฐานกระจายให้พบเห็นอยู่ทั่วบริเวณ ชุมชนพื้นที่จำปาสักเดิมรับอิทธิพลของอาณาจักรจามปาและชนพื้นเมืองอาศัยปะปนมีพวกข่ากูย หลังจากขอมขับไล่จามปาออกไปจึงตั้งเมืองเศรษฐปุระเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรเจนละก่อนแตกเป็นเจนละบกและเจนละน้ำ นครกาลจำปากนาคบุรีศรีบันทึกเป็นตำนานแรกของนครจำปาสัก และเปลี่ยนชื่อมาเป็นนครจำปาศักดิ์นาคบุรีศรี ท้ายสุดเหลือเพียงนครจำปาสัก นักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินิยมพักอยู่ที่เมืองจำปาสักนี้มากกว่าเมืองปากเซ เพราะเมืองจำปาสักยังคงรักษาโบราณสถานอันเก่าแกซึ่งมีอยู่มากมายในอดีตนครจำปาสักที่เก่าแก่ หากจะเที่ยวเมืองเก่าจำปาสักอย่างละเอียดถ้วนทั่วต้องใช้เวลาหลายวัน เมืองจำปาสักจึงเป็นเมืองที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจศึกษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ
เมืองจำปาสักมีการย้ายที่ตั้งเมืองหลายครั้ง ครั้งแรกจำปาสักตั้งอยู่บริเวณตัวเมืองเก่าบ้านหนองเวียงหรือเมืองเศรษฐปุระเดิมตำนานจำปาสักเล่าว่า พระยากำมะทาเป็นผู้นำไพร่พลมาตั้งบ้านเมืองบริเวณเมืองเดิมของท้าวคัชนาม มีกษัตริย์ปกครองต่อเนื่องเรื่อยมาขนานนามชื่อเมืองว่านครกาลจำปากนาคบุรีศรี มีพระเจ้าสุทัศนราชาครองเมือง ต่อมาถึงแก่พิราลัยไม่มีกษัตริย์ปกครองเหลือนางเภาผู้เป็นบุตรีจึงยกให้รักษาเมือง นางเภาลักลอบได้เสียกับเจ้าปางคำจนมีครรภ์กำเนิดบุตรีชื่อนางแพง เมื่อเติบโตขึ้นจึงได้เป็นผู้รักษาเมืองนครกาลจำปากนาคบุรีศรี พระครูหลวงโพนเสม็ดหรือพระยาครูขี้หอมได้รับอาราธนาบัญชาการบ้านเมือง ต่อจากนางแพงที่ชราภาพ และเห็นว่าประชาขนเคารพนับถือเป็นอย่างมาก พระยาครูขี้หอมได้บัญชาการเมืองระยะหนึ่ง แต่ด้วยเกรงว่าจะผิดวินัยสมณะเพศ หากใช้อำนาจปราบปรามผู้กระทำใด จึงได้รับอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ บุตรชายของเจ้านางสุมังคลา ราชธิดาพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชขึ้นครองราชย์ ตั้งพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็น สร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร และเปลี่ยนนามเมืองเป็น นครจำปาสักนาคบุรีศรี
เจ้าพระยาผู้ครองเมืองจำปาสักย้ายนครจำปาสัก 5 แห่ง ปัจจุบันตั้งอยู่ระหว่างบ้านโพนบกกับวัดละครอันเป็นที่ตั้งของตัวเมืองจำปาสักในปัจจุบัน เจ้านครจำปาสักคนสุดท้ายคือเจ้ายุติธรรมธร(คำสุก) หลังจากนั้นเมืองนครจำปาสักตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และตั้งเจ้าราชดนัย(หยุย)โอราช เป็นผู้ปกครองนครจำปาสัก แทนตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเป็นการยกเลิกระบบกษัตริย์ไปโดยปริยายยกเลิกตำแหน่งผู้ครองนครจำปาสัก เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก บุตรชายได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศลาว หลังเจ้าร้อยเอกกองแลปฏิวัติเจ้าสมสนิท แล้วเชิญเจ้าสุวรรณภูมาจากประเทศฝรั่งเศสมาควบคุมสถานการณ์พระพุทธปฏิมาแก้วผลึกหรือพระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย ที่หอพระสุราไลยพิมานในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานวัดพระแก้วได้รับอัญเชิญมาจากนครจำปาสักในรัชกาลที่ 2 เป็นของลาวถูกค้นพบในสมัยเจ้าสร้อยศรีสมุทร
ตระกูล ณ จำปาสักเปรียบเสมือนเจ้ามหาชีวิตลาวใต้ ฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจำปาสักยังอยู่ภายใต้การปกครองของไทย หลังจากไทยได้ยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงเพื่อแลกกับคำว่าชนะสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทิ้งเพื่อนรักญี่ปุ่นให้แพ้สงครามโดยลำพัง จำปาสักที่อยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงก็ถูกตัดไปพร้อมสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ น้ำตกหลี่ผี น้ำตกคอนพระเพ็งหรือไนแองการ่าแห่งเอเชีย ปราสาทวัดพู
จากนั้นฝรั่งเศสยกเลิกยกเลิกเจ้าผู้ครองนครจำปาสักและแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการเมืองจำปาสักแทน เป็นการยกเลิกระบบกษัตริย์ไปโดยปริยาย เจ้ายุติธรรมธร(คำสุก)จึงถือได้ว่าเป็นเจ้ามหาชีวิตคนสุดท้ายของจำปาสัก ต่อมาพระราชโอรสคนโต เจ้าคำสุก ณ จำปาสัก เป็นเจ้าผู้ครองนครต่อ และเจ้าหยุย ณ จำปาสัก เป็นเจ้ายุติธรรมธรลำดับ1-3 จึงเปรียบเสมือนเจ้าผู้ครองนครจำปาสักคนสุดท้ายคือเจ้ายุติธรรมธร(หยุย ณ จำปาสัก)
อัฐิธาตูของตระกูล ณ จำปาสักที่เก็บไว้รวมกันที่นี่
ฝรั่งเศสได้แต่งตั้งราชบุตรของเจ้ายุติธรรมธรคือเจ้าราชดนัย(หยุย ณ จำปาสัก)เป็นผู้ว่าการเมืองจำปาสักเมื่อ พ.ศ.2446 มีชายา 5 คนมีบุตรรวมกัน 20 คนบุตรของเจ้าราชดนัยที่เป็นที่รู้จักทั่วไปคือเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีลาว และ เจ้าบุญอ้อม ณ จำปาศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว ในรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว ส่วนดอกฟ้าจำปาสักที่ขุนหลวงวิจิตรวาทการเขียนคือเจ้านางสุดาจันทร์ ณ จำปาสัก ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่
ฝรั่งเศสตั้งใจสร้างให้เจ้ามหาชีวิตลาวใต้ แต่ยังไม่แล้วเสร็จมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน
|