ลานช้างและลานพระเจ้าขี้เรื้อนเป็นลานต่อเนื่องกัน สันนิษฐานว่าใช้เป็นสนามในพระราชพิธี เป็นลานสำหรับตั้งพลับพลาเพื่อให้พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ เหล่าพราหมณ์และขุนนางทั้งหลายนั่งชมพระราชพิธี มีรูปภาพแกะสะบักครุฑแบกและยักษ์แบกขนาดใหญ่ บางตัวเป็นครุฑหัวสิงห์ที่ซึ่งไม่พบในที่อื่น
มีภาพแกะสลักนูนต่ำเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับช้างมากมาย มีภาพประติมากรรมม้าห้าหัวที่กำแพงซึ่งไม่มีพบในที่อื่น
รูปประติมากรรมพระเจ้าขี้เรื้อน เคยมีประติมากรรมลอยตัวรูปคนชันเข่าที่มีไลเคนและมีเชื้อราจับเนื้อทรายเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน
มีการพบรูปพระยมสันนิษฐานว่าฉากนี้ใช้ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับพระบรมศพของกษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง
ลักษณะเดียวกันของทุ่งพระเมรุของไทย
ปราสาทบาปวนเป็นปราสาทศูนย์กลางเมืองยโสธรปุระ มีบันทึกว่าตัวปราสาทลาบด้วยทองคำตอกหมุดติดเนื้อหิน มีองค์ปราสาทหลังเดียวที่ก่อด้วยหิน ตั้งอยู่บนฐานเป็นชั้นเหมือนภูเขา มีระเบียงสองชั้นลวดลายแกะสลักจัดเป็นศิลปะเขมรแบบบาบวน และเป็นต้นแบบของปราสาทหินทั้งหลายแห่งในเมืองไทย เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทเมืองต่ำ และบางส่วนของปราสาทพนมรุ้ง
ปราสาทพิมานอากาศตัวปราสาทสร้างด้วยหินพิมาย ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงทรงพีระมิด มีบันไดขึ้นทั้งสี่ทิศ เชื่อว่าเป็นปราสาทที่ประดิษฐานเทพเจ้าประจำวัน กล่าวกันว่ากษัตริย์จะต้องมาสวดมนต์บูชาเทพเจ้าก่อนบรรทมทุกคืน มีบันทึกเพิ่มเติมของชาวต่างชาติกล่าวไว้ในบันทึกว่า เป็นสถานที่กษัตริย์จะต้องสมสู่กับนางนาคเป็นประจำทุกคืน
|