แก่งกะเบา ภูสระดอกบัว เที่ยวมุกดาหาร
|
แก่งกระเบาและภูสระดอกบัวแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติของมุกดาหาร |
แก่งกะเบาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามของจังหวัดมุกดาหาร และแก่งกะเบาเป็นสถานที่ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก แก่งกะเบาตั้งอยู่ในเขตบ้านนาแกน้อย ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ห่างจากตัวจังหวัดมุกดาหารประมาณ 35 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม (แก่งกะเบาห่างจากอำเภอธาตุพนมเป็นระยะทางราว 24 กิโลเมตร) แก่งกะเบาตรงข้ามกับ บ้านแก่งกะเบา เมืองไชยบุรี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีลำน้ำโขงเป็นเส้นกั้นกลาง
ลักษณะเด่นของแก่งกะเบาคือมีแก่งหินและโขดหินที่ขวางกั้นแม่น้ำโขง สายน้ำโขงที่ไหลมาจะมากระทบกับแก่งหินและมีการกัดเซาะทำให้เกิดรูปร่างที่สวยงาม ในบางที่จะเป็นลักษณะเหมือนกับหลุมลึกบางที่ก็จะเป็นลักษณะเหมือนถ้ำใต้น้ำซึ่งมีความสวยงามมากในช่วงฤดูร้อน ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนหย่อนใจมากมาย ทั้งมาทำกิจกรรมภายในครอบครัวหรือแม้กระทั่งมาเล่นน้ำก็ตาม ในตัวแก่งกะเบานั้นตรงที่ที่สายน้ำไหลอยู่ตลอดเวลาจะไม่มีตระไคร่น้ำติดเพราะว่าน้ำพัดอยู่ตลอดเวลาแต่ตรงที่น้ำไหลไม่แรงหรือไม่ไหลเลยนั้นควรจะระมัดระวังเพราะอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้
ภายในแก่งกะเบานั้นก็จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายไม่ว่าจะเป็นที่พัก ร้านค้า ร้านอาหาร สำหรับเมนูอาหารยอดนิยมที่มาเที่ยวแล้วต้องสั่งคือ หมูหันแก่งกะเบา บริเวณแก่งก็จะมีห่วงยางให้เช่าสำหรับผู้ที่ต้องการลงเล่นน้ำ แก่งกะเบานั้นในสมัยก่อนมักจะมีต้นกะเบาซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับต้นมะกอก แต่ในปัจจุบันนั้นไม่มีให้เห็นแล้วและบางคนอาจจะคิดว่าบ้านทางด้านไทยนั้นคือบ้านแก่งกะเบา แต่จริงๆแล้วบ้านแก่งกะเบาตั้งอยู่ทางฝั่งประเทศลาว ฝั่งทางเมืองไชยบุรีเมื่อมองดูดีดีจะเห็นตึกสีขาว ซึ่งนั้นก็คือโกดังสินค้าเก่าเมื่อสมัยที่ฝรั่งเศส เข้ามายึดลาวเป็นเมืองขึ้นใหม่ๆนั้น และได้มีการนำเรือกลไฟขนข้าวของสัมภาระและเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆมาเก็บไว้ที่นี่ และเมื่อสังเกตดีๆก็จะเห็นเสาคอนกรีตอยู่กลางลำน้ำโขง นั้นคือ เสาที่ทางฝรั่งเศสทำไว้เพื่อบอกทิศทางแก่เรือกลไฟ เพราะว่าแม่น้ำโขงบริเวณแก่งกะเบานี้เป็นแก่งหินทรายที่มีลักษณะเป็นเกาะแก่งมากมายจึงต้องทำการระเบิดหินเพื่อเปิดเป็นทางเพื่อที่เรือกลไฟจะได้เดินทางได้สะดวก แต่ก็ยังไม่ปลอดภัยมากนักจึงได้ทำเสาหินขึ้นโดยที่จะมีการทาสีเป็นสัญลักษณ์ไว้ แต่ในปัจจุบันด้วยกาลเวลาและสภาพอากาศแล้วก็ทำให้สีที่ทาไว้นั้นเลือนหายไปมากจนไม่มีเค้าเดิมว่าเป็นเช่นไรแต่ก็มีการสันนิฐานว่าอาจจะเป็นเสาคอนกรีตสีดำกับแดงก็ได้ โดยที่เสาที่ทางสีดำนั้นอาจจะบอกว่าทางซ้ายของเสานั้นมีเกาะแก่งทางขวาเป็นร่องน้ำที่ทำไว้ให้หันเรือไปทางขวาส่วนสีแดงก็คือทางซ้ายนั้นเป็นร่องน้ำขวาคือเกาะแก่งควรที่จะเลี่ยงไปทางด้านซ้ายของเสาเพื่อความปลอดภัย
หมูย่างทั้งตัวเมนูเด็ดกรอบอร่อย ไปเที่ยวแก่งกะเบามุกดาหารต้องลองชิม
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัวเคยเป็นที่แทรกซึมของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) นับได้ว่าเป็นขุมกำลังที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2508 - 2525 เหตุการณ์คลี่คลายลง ผกค. เข้ามอบตัวต่อทางราชการ ทางการจึงจัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎรบริเวณบ้านน้อมเกล้า ตำบลบุงค้า อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และที่บ้านภูผาหอม ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
จากนั้นปัญหาต่างๆ ด้านป่าไม้ก็ตามมาไม่ว่าจะเป็นการจับจอง บุกรุก แผ้วถางป่าการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ด้วยเกรงว่าปัญหาเหล่านี้จะลุกลามออกไป ในช่วงปี พ.ศ. 2525 ป่าไม้อำเภอดอนตาล ได้เสนอเรื่องต่อจังหวัดมุกดาหาร และป่าไม้อำเภอเลิงนกทา ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูลำกลาง ภูสระดอกบัว และภูผาแต้ม เพื่อเสนอเรื่องต่อทางจังหวัดยโสธร ให้จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว จากเหตุผลความเหมาะสมนานับประการ ก่อประโยชน์ทั้งความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ผืนป่าแห่งนี้ไว้เป็นสมบัติของชาติ และอนุชนรุ่นหลังได้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ทั้งยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนโดยทั่วไป อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัวมีเนื้อที่อยู่บนแนวเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวเป็นแนวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยป่าอันอุดมสมบูรณ์หลายชนิด พื้นที่หลายแห่งมีลานหินขนาดใหญ่ ชาวท้องถิ่นเรียกว่า “ดาน” กระจายอยู่ตามยอดเขาต่างๆ มียอดภูกระซะ เป็นยอดสูงสุดประมาณ 481 เมตร จากระดับน้ำทะเล ยอดอื่นมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 350-450 เมตร พื้นที่เหล่านี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย เช่น ห้วยทม ห้วยกะบก ห้วยก้านเหลือง ห้วยลำกลาง ห้วยขี้เหล็ก ห้วยหินขัว ห้วยตูบ และห้วยไห เป็นต้น
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
23
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,342
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,101,277
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
21 พฤศจิกายน 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|