หลวงพ่อพระใสพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สองฝั่งโขง
|
หลวงพ่อพระใสพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สองฝั่งโขง |
หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่โบราณและศักดิ์สิทธิ์ทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์แห่งหนึ่งของจังหวัดหนองคาย หลวงพ่อพระใสมีประวัติความเป็นมาอย่างน่าอัศจรรย์ซึ่งปรากฏเป็นตำนานสืบขานเล่าต่อกันมา หลวงพ่อพระใสเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวหนองคาย พุทธศาสนิกชนคนไทยลาวตลอดทั้งสองฝั่งสายน้ำโขงศรัทธาหลวงพ่อพระใสเป็นอย่างมาก
หลวงพ่อพระใสประดิษฐานอยู่ ณ วัดโพธิ์ชัย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปปางมารพิชัยหล่อด้วยทองสีสุกปรั่ง ขนาดหน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงค์ถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว มีพระรูปลักษณะงดงามมาก ว่า ในปี พ.ศ.2105 ในรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรล้านช้างศรีสัตนาคนหุต ทรงมีพระราชธิดา 3 พระองค์ พระราชธิดาสุข พระราชธิดาเสริม และพระราชธิดาใส พระราชธิดาทั้ง 3 พระองค์ทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึ่งร่วมพระทัยขอพรจากราชบิดาสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น โดยมีข้าราชบริพาร ชาวบ้าน และชาววัดได้ระดมช่างกำลังคนมาช่วยกันสร้างอย่างมากมาย การหล่อทองเป็นไปด้วยความยากลำบากใช้เวลาหล่อทองถึง 7 วัน 7 คืนทองก็ยังไม่ละลาย ทำให้ไม่สามารถประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปตามขั้นตอนได้ ล่วงเข้าวันที่ 8 ตอนใกล้เพลในขณะที่หลวงตากับเณรน้อยกำลังช่วยสูบลมหล่อทองอยู่นั้น ก็ปรากฏมีชีปะขาวคนหนึ่งอาสามาช่วย หลวงตากับสามเณรจึงหยุดพักและขึ้นไปฉันท์เพลบนศาลา เวลานั้นชาวบ้านก็แปลกใจที่เห็นชีปะขาวจำนวนมากมายกำลังเททองหล่อพระพุทธรูปอยู่ แต่หลวงตากลับมองเห็นชีปะขาวคนนั้นเพียงคนเดียว เมื่อฉันท์เพลเสร็จหลวงตาและชาวบ้านก็พบว่าทองทั้งหมดได้ถูกเทลงในเบ้าหล่อทั้ง 3 เบ้าเรียบร้อยแล้วและชีปะขาวได้อันตทาลหายไป ชาวบ้านต่างโจทย์ขานเชื่อกันว่า เหตุอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นเป็นอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ของเหล่ากายทิพย์พญานาคที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปในครั้งนี้
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินทร์มหาราชได้เกิดสงครามกับแคว้นศรีสัตนาคหุต เมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง พระเจ้าธรรมเทววงค์ชาวเมืองเวียงจันทน์ได้อันเชิญพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์อพยพหลบภัยสงครามไปไว้ที่เมืองเชียงคำ ต่อมาเมื่อสงครามสงบอพยพกลับมาประดิษฐาน ณ วัดโพนไซย เมืองเวียงจันทน์อีกครั้ง ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช่วงที่เมืองเวียงจันทน์เกิดทุกข์เข็ญขึ้นอีกครั้ง ชาวเมืองเวียงจันทน์จึงได้อัญเชิญ พระสุข พระเสริม พระใส ไปซ่อนไว้บนภูเขาควาย เมื่อเมืองเวียงจันทน์ถูกปราบฝ่ายไทยได้อัญเชิญ พระสุข พระเสริม พระใส ข้ามฝั่งโขงมายังฝั่งไทย จังหวัดหนองคาย โดยอัญเชิญใช้พิธีล่องแพลงมาตามลำน้ำงึม ระหว่างที่ขบวนเรือแพไม้ไผ่อันเชิญพระสุข พระเสริม พระใส ลงมาถึงปากน้ำงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายก็ได้มีเหตุอัศจรรย์เกิดพายุใหญ่ ลมแรงพัดกระหน่ำน้ำฟุ่งกว้างตีฟองเป็นคลื่นยักษ์ซัดพาแพอันเชิญองค์พระเอียงมาเอียงไปจนแพแตก ทำให้แท่นพระสุขแหวกแพลงไปในน้ำ องค์พระสุข พระเสริม พระใส จึงเรียกบริเวณนั้นว่า เวินแท่น จากปากน้ำงึมไปไม่ไกลคือบริเวณเวินแท่นในตำนาน ขบวนอันเชิญพระสุข พระเสริม พระใสพยายามล่องแพต่อมาจนพ้นปากน้ำงึมทันใดนั้นองค์พระสุขได้แหวกแพจมลงไปในน้ำโขงตามแท่นไป เหตุการณ์พระสุขจมน้ำในครานั้นชาวบ้านต่างเชื่อกันว่าพญานาคมารับเอาพระสุขไปบูชาในเมืองบาดาล ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนั้นว่า เวินสุข ซึ่งปรากฏอยู่ห่างเวินแท่นมาไม่ไกลจะเป็นเวินน้ำวนขนาดใหญ่ วันดีคืนดีชาวบ้านมักจะเจอเจ้าพิทักษ์เฝ้าองค์พระสุขสำแดงอิทธิฤทธิ์ให้เห็นอยู่เสมอ และบริเวณนี้ยังมีบั้งไฟพญานาคปรากฏให้เห็นทุกๆปี ใน พ.ศ.2536 ชาวหนองคายได้ประกอบพิธีบวงทรวงอันเชิญพระพุทธคุณขององค์พระสุขที่จมใต้สายน้ำโขง บริเวณบ้านหนองกุ้ง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ทำพิธีเททองสร้างหลวงพ่อพระสุขจำลองเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดหลวง อำเภอโพนพิสัย ภายในเจดีย์ที่ประดิษฐานพระสุขจำลองไว้นั้นจะมีน้ำไหลออกมาจากป่องเพดานตลอดปีโดยไม่ทราบที่ไปที่มาของน้ำนั้น หลังจากนั้นทางวัดได้บูรณะเจดีย์หมดเงินไปหลายแสนบาทแต่ก็มีน้ำไหลย้อยมาอยู่เช่นนั้นดังเดิม ทางวัดจึงประทับร่างทรงหาสาเหตุ จึงได้รับรู้ว่าเป็นหยดน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่มาจากใต้บาดาล ว่ากันว่ามีพญานาคหนุ่มคอยดูแลรักษาน้ำอยู่มุมโบสถ์ไม่ให้ขาดน้ำตลอดปี ขบวนอันเชิญองค์พระซึ่งเหลือเพียงพระเสริม และพระใสสององค์ ได้อัญเชิญต่อจนข้ามสายน้ำโขงมาถึงฝั่งไทยที่เมืองหนองคาย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้โปรดขุนวรธานีและเจ้าเหม็งอันเชิญพระเสริมและพระใสไปไว้ยังกรุงเทพ เกวียนอันเชิญจากวัดหอกล่องเมื่อมาถึงวัดโพธิ์ชัยเกิดเหตุขัดข้องเกวียนไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ ที่สุดที่อัญเชิญพระใสก็หักพังทับลงมา แม้จะนำเกวียนมาเปลี่ยนใหม่แต่ก็ไม่เป็นผล ด้วยอำนาจเหล่าเทพเทวดา พญานาค ได้กระทำอิทธิฤทธิ์ ยื้อยุทธ ฉุด ของหลวงพ่อพระใสไว้ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของเหล่าสัพสัตว์ของเหล่าพุทธศาสนิกชนริมน้ำโขง ชาวบ้านตกลงกันว่าจะประดิษฐานหลวงพ่อพระใสไว้ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนหลวงพ่อพระเสริมให้อันเชิญไปที่กรุงเทพ ประดิษฐานไว้ ณ วัดประทุมวนารามถึงปัจจุบัน ประชาชนชาวจังหวัดหนองคายได้กำหนดประเพณีสมโภชน์หลวงพ่อพระใส ซึ่งยึดถือปฏิบัติกันมาแต่ครั้งโบราณถึงปัจจุบันนี้ โดยกำหนดเอาวันสงกรานต์ของทุกปี อันเชิญพระใสขึ้นราชรชแห่ไปตามเมืองเพื่อให้ประชาชนสักการะได้บูชาและสรงน้ำขอพร นับเป็นความศักดิ์สิทธิ์อย่างน่าอัศจรรย์ของพ่อพระใสในวันที่ประกอบพิธีแห่อันเชิญลงสรงน้ำทุกปีนั้นจะมีเหตุการณ์ครึ้มฟ้าครึ้มฝน มีฝนตกโปรยปรายฉุ่มฉ่ำไปตลอดทั่วทั้งวันงาน ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นปาฏิหารย์ของหลวงพ่อพระใส และเหล่าเทวดพญานาคที่มาคอยชุมนุมเพื่อร่วมแซ่ซ้องสาธุกาลในวันดังกล่าว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
9
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,634
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,120,801
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
3 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|