วัดหนองป่าพง เที่ยวอุบลราชธานี ทัวร์ท้องถิ่น
|
วัดหนองป่าพง สำนักวิปัสนากรรมฐานที่ใหญ่ที่สุดในโลก |
วัดหนองป่าพงเป็นวัดป่าสายปฏิบัติ ซึ่งหลวงพ่อชา สุภทฺโท ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับประพฤติปฏิบัติ ฝึกฝน อบรมพระภิกษุ-สามเณร ผู้มุ่งสู่ความพ้นทุกข์ ให้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ เสียสละ พากเพียรเพื่อมรรคผลนิพพาน และนำพาไปสู่การเป็นสมณะที่งดงาม ด้วยการรักษาวัตรปฏิบัติตามธรรมวินัย อันจะเป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น ร่วมประคองค้ำชูพระศาสนาให้มีอายุยืนยาว เจริญรุ่งเรือง กระทั่งต่อมาได้เป็นศูยน์กลางการอบรมสั่งสอน ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา ให้กับนักปฎิบัติธรรมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จนเป็นแรงศรัทธาเกิดสาขาขยายไปยังประเทศทั่วโลก
วัดหนองป่าพงเป็นต้นแบบของวัดป่ากว่า 100 แห่งในประเทศไทย และอีกหลายแห่งในยุโรป ออสเตรเลีย และแคนาดา หลวงพ่อชาเป็นตัวอย่าง ของพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แม้จะมีศาสนิกชนมากมายแต่ก็ไม่สร้าง ความแตกแยกให้เกิดนิกาย หรือเข้าไปพัวพันกับการเมืองจนเป็นเรื่อง แตกแยก วัดเน้นความเรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่ฟุ่งเฟือยหรือสะสม คงความเป็นพุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่างแท้จริง หน้าที่หลักของ พระสงฆ์ คือ เป็นที่พึ่งทางจิตใจ อบรมสั่งสอนให้ศาสนิกชนปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา
หลวงพ่อชา สุภทโท เดิมชื่อ ชา ช่วงโชติ เกิดที่บ้านจิกก่อ ต.ธาตุ อ.วารินชำรา เป็นผู้มีจิตฝึกใฝ่ในธรรมตั้งแต่เด็ก ศึกษาปริยัติธรรมและ วิปัสสนาจากหลายสำนัก ท้ายสุดเดินทางจารึกไปพบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดหนองผือนาใน อ.พรรฌานิคม จ.สกลนคร เกิดความศรัทธาเลื่อมใส และยึดถือแนวปฎิบัติ หลวงพ่อชาได้ทดลองปฎิบัติ ภาวนาในสถานวิเวกต่างๆ อาทิ ป่าช้า ป่าดงดิบ รวมระยะเวลาการออกธุดงค์เป็นเวลา 8 ปี (พ.ศ.2489 - 2497 ) พศ.2497 จึงออกมาตั้งวัดหนองป่าพง
ระหว่างที่มาอยู่วัดหนองป่าพง หลวงพ่อได้ยึดหลักคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสว่า "ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นที่หลัง จึงจะไม่เป็นบัณฑิตสกปรก" ฉะนั้นไม่ว่าจะทำกิจวัตรอันใด เช่น การกวาดลานวัด จัดที่ฉัน ล้างบาตร นั่งสมาธิ ตักน้ำ ทำวัตร หลวงพ่อจะลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์โดยยึดหลักว่า "สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูดพูดเหมือนทำ" ดังนั้นศิษย์ และญาติโยมจึงเกิดความเคารพเลื่อมใสในปฏิปทาที่หลวงพ่อดำเนินอยู่
สถาปัตยกรรมที่สำคัญของวัดหนองป่าพง คือ
๑. พระอุโบสถ
เกิดจากแนวความคิดของพระอาจารย์ชา คือ โบสถ์คือบริเวณหรืออาคารที่พระสงฆ์ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรม ให้สร้างพอคุ้มแดดคุ้มฝน ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องประดับให้สิ้นเปลืองแต่อย่างใด พระอาจารย์ชา จึงวางหลักในการสร้างอุโบสถไว้ว่า ต้องตั้งอยู่บนเนินดินคล้ายภูเขาให้พื้นโบสถ์ยกลอยสูงขึ้นจากพื้นดิน พื้นโบสถ์ส่วนที่ลอยนี้จะใช้เป็นถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ ให้เข้ากับธรรมชาติมากที่สุด เรียบง่าย แข็งแรง ทนทาน ประหยัด ให้มีขนาดกว้างใหญ่ สำหรับพระภิกษุใช้ร่วมลงสังฆกรรมได้อย่างน้อย ๒๐๐ รูป ให้มีเครื่องตกแต่งสิ้นเปลืองน้อยที่สุดไม่ควรมีช่อฟ้าใบระกา ไม่ต้องมีผนัง มีประตู หน้าต่าง และฝนสาดไม่ถึง
๒. เจดีย์พระโพธิญาณเถร
ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสาน ระหว่างสถาปัตยกรรมอีสานกับ ล้านช้าง ส่วนองค์เจดีย์เป็นบัวเหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานกลม ซึ่งเป็นอาคารโบสถ์ มีทางเข้าสี่ทิศ โดยศิษยานุศิษย์หลวงปู่ชา สุภทฺโท ได้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิหลวงปู่ชา ซึ่งท่านได้มรณภาพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เวลา ๐๕.๒๐ น.
๓. พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร ตั้งอยู่ภายในวัดหนองป่าพง บ้านพงสว่าง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 3 ชั้น บริเวณชั้นล่างจัดแสดง โลงบรรจุ รูปหลวงปู่ชาหรือนามที่ผู้คนทั่วไปเรียกกันคือหลวงปู่ชาวัดหนองป่าพงเพื่อสักการะ และโครงกระดูกมนุษย์ ชั้น 2 จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่ชาวบ้านได้นำมาถวายวัด เช่นผ้าทอมือ เครื่องจักสาน เครื่องประดับ นิทรรศการคำสอนของหลวงพ่อ ตรงกลางเป็นโถงบันไดขึ้นสู่ชั้นที่ 2 และ 3 ผนังบริเวณบันไดประดับแผ่นดินเผารูปนูนต่ำเรื่องราวประวัติหลวงปู่ชา ไม้แกะสลักเรื่องพุทธประวัติ และชั้น 3 ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่ารูปจริงของหลวงปู่ชาในท่านั่งอยู่บนเก้าอี้หวายและเครื่องอัฐบริขารของท่าน
๔.หอระฆัง
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหอฉัน ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๑๕ เมตร บนยอดหอระฆังได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เริ่มสร้างปี ๒๕๑๔ เสร็จเรียบร้อยเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๑๗ ตามผนังประดับด้วยภาพปูนปั้น เรื่องราวพุทธประวัติ และสัตว์ที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติของวัดหนองป่าพง เช่น ไก่ป่า กระรอก กระแต ตะกวด อันเป็นความคิดของหลวงพ่อ ปั้นโดย พ่อใหญ่บัวพา วงสิงห์ บ้านกลาง
๕.กุฏิหลวงพ่อ
กุฏิหลังที่สาม เป็นกุฏิที่หลวงพ่อพำนักอยู่นานที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๒๔ สร้างถวายโดยคุณครูทองคำ สุพิชญ์ อยู่ทางด้านทิศเหนือของโบสถ์ หลังคามุงสังกะสี บุฝ้าเพดาน ฝาและพื้นชั้นบนเป็นไม้แปรรูป มี ๒ ห้อง พื้นชั้นล่างลาดซีเมนต์เปิดโล่ง หลวงพ่อมักนั่งรับแขกสนทนาธรรม ณ ใต้ถุนกุฏิแห่งนี้เป็นประจำ
๖.กุฏิพยาบาล
เป็นกุฏิหลังสุดท้าย สร้างในปี ๒๕๒๕ สร้างอยู่บนเนินซึ่งขุดดินจากบ่อน้ำข้างๆนั้นขึ้นมาถมที่ให้สูงขึ้น เพื่อให้ได้รับลมตามธรรมชาติ อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในกุฏิออกแบบเป็นพิเศษ ให้มีสภาพคล้ายกับห้องพิเศษของโรงพยาบาล ภายนอกกุฏิปลูกหญ้า จัดสวนหย่อมให้บรรยากาศร่มรื่น หลวงพ่อเมตตาเข้าพำนักตามคำนิมนต์เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
วัดป่านานาชาติ
วัดป่านานาชาติจัดเป็นวัดสาขาอันดับที่ 19 ของวัดหนองป่าพง เดิมชื่อว่า วัดอเมริกาวาส และมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่านานาชาติ ภายหลัง โดยมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า WAT PAH NANACHAT. BUNG WAI FOREST MONASTERY.ซึ่งเป็นวัดที่มีพระภิกษุชาวต่างชาติ เช่น อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์และญี่ปุ่น เป็นต้น มาจำพรรษาอยู่มิได้ขาด จุดกำเนิดของวัดป่านานาชาตินั้น ต้องย้อนไปเมื่อ พ.ศ.2510 ซึ่งเป็นปีแรกที่ วัดหนองป่าพง ได้มีโอกาสต้อนรับอาคันตุกะชาวอเมริกัน ซึ่งอยู่ในสมณะเพศในพระพุทธศาสนา โดยพระภิกษุรูปนั้นมีนามว่า"โรเบิร์ต" ฉายา "สุเมโธ"ซึ่งวัตถุประสงค์ของการมาครั้งนี้คือ เพื่อมาถวายตัว เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ชา สุภัทโธ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
22
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,394
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,101,329
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
21 พฤศจิกายน 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|