วัดทุ่งศรีเมือง เที่ยวอุบลราชธานี ทัวร์ท้องถิ่น
|
วัดทุ่งศรีเมืองมีสถาปัตตยกรรมผสมผสานไทย พม่า ลาว |
วัดทุ่งศรีเมืองมีลักษณะพิเศษผสมผสานสถาปัตยกรรมไทย พม่า ลาวเข้าด้วยกันความโดดเด่นของวัดทุ่งศรีเมืองอยู่ที่หอพระไตรปิฎกที่สร้างด้วยไม้ตั้งอยู่กลางสระน้ำ มีลักษณะเป็นศิลปะผสมระหว่างไทย พม่า ลาว และพระอุโบสถที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมระหว่างแบบพื้นบ้านอีสานกับเมืองหลวงกรุงเวียงจันทร์กับกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วัดทุ่งศรีเมืองสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๕-๒๓๘๙ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้สร้างวัดนี้คือท่านเจ้าอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบล คณะภิบาลสงฆปาโมกข์ (สุ้ย) เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี ในสมัยนั้นท่านได้เคยลง ไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดสระเกศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่สถิตย์แห่งองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะมาเป็นพระหลักคำกลับขึ้นมาพำนักอยู่ที่วัดมณีวนารามหรือวัดป่าน้อย จังหวัดอุบลราชธานี ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าเจ้าคณะ ท่านได้นำพระพุทธบาทจำลองจากวัดสระเกศราชวรวิหารมายังอุบลราชธานี และได้สร้างหอพระพุทธบาทเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ช่างผู้ดำเนินการเป็นพระมาจากเวียงจันทร์ชื่อญาคูช่าง เป็นพระเถระมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมณีวนาราม และได้พำนักอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ได้ดำเนินการก่อสร้างหอพระพุทธบาทหลังนี้ สิ่งสำคัญภายในวัดประกอบด้วย
พระอุโบสถหรือเรียกว่าหอพระบาทที่พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม มีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมระหว่างแบบพื้นบ้านอีสานกับเมืองหลวงกรุงเวียงจันทร์กับกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือส่วนล่างเป็นฐานเอวขันธ์ บันไดจระเข้ และเฉลียงด้านหน้าคงเอกลักษณ์ของสิมอีสาน ส่วนบนหลังคาทรงจั่วมีชั้นลด ๒ ชั้น รายรำยอง ช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ทวยและซุ้มประตู หน้าต่างแบบเมืองหลวง ส่วนลวดลายด้านหน้าบันสาหร่ายรวงผึ้งเป็นเอกลักษณ์ผสมอีสานกับเมืองหลวงแบบสิมวัดแจ้ง ภายในอุโบสถมีมีจิตรกรรมฝาผนังที่ทรงคุณค่าทั้ง ๔ ด้านเน้นเนื้อหางานจิตรกรรมทางด้านพุทธประวัติ และทศชาติ โดยเฉพาะเวสสันดรชาดก นอกจากนี้ยังได้แทรกสภาพวิถีชีวิตของผู้คนตลอดจนภาพผู้คนที่เป็นราษฎรทั่วไป
หอพระไตรปิฎกเป็นหอไตรที่สร้างด้วยไม้ตั้งอยู่กลางสระน้ำ เพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฏกป้องกันไม่ให้มดปลวกไปกัดทำลาย มีลักษณะเป็นศิลปะผสมระหว่างไทย พม่าและลาว กล่าวคือลักษณะอาคารเป็นแบบไทยเป็นเรือฝาปะกน ขนาด ๔ ห้องภายในห้องที่เก็บ พระธรรมทุกด้านเขียนลงรักปิดทองส่วนของหลังคามีลักษณะศิลปะไทยผสมพม่าคือมีช่อฟ้าใบระกา แต่หลังคาซ้อนทับกันหลายชั้น แสดงถึงอิทธิพลศิลปกรรมพม่าที่ส่งผ่านมายังศิลปะลาวล้านช้าง ส่วนลวดลายและสลักบนหน้าบันทั้ง ๒ ด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาวฝีมือชั้นสูงตรงส่วนฝาปะกนด้านล่างเป็นรูปสัตว์ประจำราศีต่างๆ และลวดลายพันธุ์ไม้เป็นช่องๆ โดยรอบ ทำให้มีลักษณะแปลกตา มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจนเป็นเอกลักษณ์ของชาวอุบลราชธานี กรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
วิหารศรีเมือง เป็นเสนาสนะกลางเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่ศรีเมือง ซึ่งเป็นพระคู่เมืองอุบลราชธานี เดิมที่อยู่วัดเหนือท่าแต่วัดเหนือท่าร้าง หลวงปู่พระครูวิโรจน์รัตโนบล ท่านจึงชลอมาประดิษฐาน เป็นพระประธานที่วิหารศรีเมือง พุทธรูปก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง ศิลปะลาว หน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูง ๒ เมตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
8
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,443
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,001,279
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
20 กันยายน 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|