ภูทอก ภูทอกสถานที่น่าเที่ยวของโลก เที่ยวบึงกาฬ
|
ภูทอกสถานอัศจรรย์สุดยอดวิศวกรรมก่อสร้างจากพลังศรัทธา |
ภูทอกสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ ความอัศจรรย์ของภูทอกแห่งนี้ได้ถูกบันทึกให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของโลก ภูทอกสุดยอดวิศวกรรมก่อสร้างบันไดสะพานเวียนรอบภูทอก ฝีมือการก่อสร้างระดับภูมิปัญญาชาวบ้านของพระอาจารย์จวน บนภูทอกแห่งนี้ ภูทอกภูเขารูปทรงประหลาดที่ตั้งตระหง่านขึ้นกลางผืนป่าบ้านนาคำแคนพัฒนา ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย คือสิ่งสุดยอดวิศวกรรมก่อสร้างมหัศจรรย์อนุสรณ์สถานวิปัสสนาของพระอาจารย์จวน กุลเชฎโถ พระอริยะเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำโขง พระอาจารย์จวนใช้พลังสมาธิและแรงศรัทธานำพาลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านสร้างบันไดสะพานเวียนวนรอบภูทอกแห่งนี้ โดยไม่มีวิศวกรช่วยคำนวณไม่มีเครื่องจักรกลใดๆในการก่อสร้าง นอกจากแผ่นไม้ ตะปู ค้อน ลิ่ม และพลังศรัทธาอันแรงกล้า จนผู้คนถึงกับต้องตะลึงกับความมหัศจรรย์ของบันไดเจ็ดชั้นรอบภูทอก สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม
ที่ภูทอกแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อยู่ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์นี้ ผู้คนที่มาเยี่ยมชมภูทอกจึงมาด้วยความเคารพเพื่อมุ่งหน้าสู่จุดสูงสุดยอดภูทอก หนทางที่สร้างไว้ประหนึ่งบันไดขึ้นสู่สรวงสวรรค์และนิพพาน การขึ้นภูทอกจากชั้นที่หนึ่งไปจนถึงชั้นที่สามเป็นบันไดไม้ไต่ระดับทอดขึ้นไปตามเนินเขา สองฝากฝั่งทางเต็มไปด้วยพรรณไม้เขียวที่ชอุ่ม มีดอกไม้ป่ายามหน้าฝนปรนเสียงร่ำร้องของนกไพรให้เพลิดเพลินเจริญใจไปตลอดทาง ก่อนเตรียมใจก้าวย่างขึ้นสู่ความมหัศจรรย์ในชั้นบนเบื้องหน้า จากชั้นที่หนึ่งไปจนถึงชั้นที่เจ็ดพระอาจารย์จวน จุลเชษโถ ใช้เวลาในการก่อสร้างบันไดทางขึ้น เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จนกระทั่งแล้วเสร็จนานถึงห้าปีเต็ม พอขึ้นสู่ชั้นที่สี่ก็จะปรากฏเป็นสะพานเวียนรอบภูทอก วิธีสร้างสะพานบนหน้าผาของพระอาจารย์จวนนั้น ท่านจะใช้ซิ่วเจาะหินรอบๆหน้าผาเอาไม้หลักปักเข้าเป็นหลักแขนนางยึดขึ้นเป็นเสาโดยใช้ไม้เนื้อแข็งจำพวกไม้พยุง เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงแล้ววางท่อสะพานด้วยไม้ทุบเปลือก ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเวลาผ่านมากว่า 30 ปี สะพานแห่งนี้จะยังคงมีสภาพแข็งแรงรองรับน้ำหนักผู้มาท่องเที่ยวภูทอกได้มากมาย นอกจากสร้างสะพานรอบๆหน้าผาสูงชันเป็นชั้นๆจนถึงยอดเขาแล้ว พระอาจารย์จวนยังได้บูรณะถ้ำพระบนเขาสูงชั้นที่ห้าให้เป็นศาลาธรรมโดยใช้รอบชักลากเอาไม้จากชั้นล่างขึ้นไปสร้างแทรกไว้ในระหว่างถ้ำซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคสูงสุดของภูมิปัญญาช่างชาวบ้านอันล้ำค่าของชุมชนโดยรอบภูทอกแห่งนี้
ภายในศาลาธรรมพระที่ประกอบศาสนกิจกรรมของพระอาจารย์จวน พระสงฆ์ที่มาบำเพ็ญภาวนา ทะลุจากศาลาธรรมสู่ชั้นที่หก ภูทอกช่วงนี้จะชุ่มฉ่ำไปด้วยสายน้ำตกจากหน้าผารินไหลให้ได้ยลกันตลอดทาง พ้นจากสายน้ำตกระหว่างหลืบหินก็จะไปทะลุออกอีกด้านหนึ่งของภูทอก ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยงามกว้างไกลสุดสายตา ณ ภูทอกมุมนี้จะเห็นความอลังการของบันไดไต่หน้าผายาวเหยียดที่จัดสร้างขึ้นด้วยพลังสมาธิ ยานตบะอันแก่กล้าของพระอริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มข้น พระอาจารย์จวน จุลเชษโถ ลูกศิษย์ผู้สำคัญของหลวงปู่มั่น พระอาจารย์ใหญ่แห่งสายวิปัสสนากรรมฐาน สะพานหลักแขนนางที่ทอดติดกับหน้าผาด้วยลิ่มและตะปูดูด้วยตาแม้จะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังทรงแสดงให้เห็นความถึงความมั่นคงแข็งแรงได้เป็นอย่างดี จุดชมวิวมุมหนึ่งของชั้นที่หกนี้จะสามารถมองเห็นศาลารูปทรงประหลาดบนก้อนหินอีกก้อนหนึ่งใกล้ๆเรียกว่าพุทธวิหาร ซึ่งเคยเป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐานของพระอาจารย์จวน เป็นมุมที่สวยงามและสุดแสนวิเวกสมกับเป็นที่บำเพ็ญภาวนาโดยแท้ จากชั้นที่หกลงมาสู่ชั้นที่ห้าตลอดปลายทางความอรหันต์ยังมีปรากฏให้พบเห็นเป็นระยะๆ ความอัศจรรย์ของภูทอกแห่งนี้ได้ถูกบันทึกให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของโลก ฝีมือการก่อสร้างระดับภูมิปัญญาชาวบ้านของพระอาจารย์จวน บนภูทอกแห่งนี้ มีผู้รู้เคยบอกเอาไว้ว่า วิศวกรระดับยังต้องยอมรับในการก่อสร้างสะพานเวียนรอบภู และกุฏิ ศาลา บนภูทอกนี้ จุดสุดท้ายถือเป็นสวรรค์น้อยๆบนสวรรค์เจ็ดชั้นบนภูทอกแห่งนี้ ถ้ำน้ำตกบริเวณชั้นห้าดารดาษเต็มไปด้วยดอกไม้ บุบผาไพรแห่งวสันต์การนามว่าราชินีศรีภูทอกหรือดอกเอ็ดอ้าน้อย บานสะพรั่งเต็มพลางหินและเพลิงผาให้ได้ชื่นชมก่อนก้าวลงจากภูทอกมหัศจรรย์ภูมิปัญญาอันล้ำค่าของพระอาจารย์จวน จุลเชษโถ พระอาจารย์จวนเป็นพระอริยะเจ้าชั้นสูงท่านมีญาณล่วงรู้เหตุการณ์ในอดีตปัจจุบันและอนาคตได้ รู้จิตใจคนมีหูทิพย์ ตาทิพย์ พระอาจารย์จวน จุลเชษโถ ได้มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2523 และหลังจากพระราชทานเพลิงศพแล้ว อัฐิของท่านได้แปลงเปลี่ยนเป็นพระธาตุแล้วด้วยสมบูรณ์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
26
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,347
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,101,282
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
21 พฤศจิกายน 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|