พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ บ้านปากแซง เที่ยวอุบลราชธานี
|
พระเจ้าใหญ่องค์วัดบ้านปากแซง |
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อประดิษฐานอยู่ที่วัดพระโต วัดพระโตมีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปประจำวัด เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธและเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม เป็นสถานที่จัดงานประเพณีท้องถิ่น เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เป็นลานบุญ ลานปัญญา เป็นสถานที่รวมกลุ่มเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอด เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามลำแม่น้ำโขง มีหาดทรายสวย เป็นเมืองท่าด่านไทย-ลาว เป็นสถานที่จัดงานประเพณีนมัสการเจ้าใหญ่องค์ตื้อ จัดงานแข่งเรือไทย-ลาว จัดงานประเพณีสงกรานต์ ก่อเจดีย์ทราย จัดงานสืบชะตาแม่น้ำโขง เป็นวัดที่มี เสนาสนะรูปทรงไทยสวยงาม และมีเรือขนาดใหญ่จอดไว้ที่ท่าลำน้ำโขง
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้ออยู่ที่บ้านปากแซง ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยอิฐผสมปูนขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 4.36 เมตร มีอายุเก่าแก่และเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนไทยและลาว เนื่องจากพระพุทธรูปองค์นี้เก่าแก่มากและไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ผู้บันทึกได้เรียบเรียงตามคำบอกเล่าของคนแก่ ซึ่งได้เล่าสืบทอดกันมาดังข้อความต่อไปนี้
มีกษัตริย์สมัยขอมพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระยาแข้วเจ็ดถัน ได้เสด็จล่องเรือลงมาตามลำแม่น้ำโขงในฤดูฝน พอถึงบ้านปากแซงก็ค่ำลงจึงได้หยุดประทับแรม 1 คืน วันรุ่งขึ้นพระองค์ได้เสด็จขึ้นไปยังหมู่บ้านและได้พบกับเจ้ากวนของหมู่บ้านในสมัยนั้น พระยาแข้วเจ็ดถันได้ตรัสถามถึงประวัติของหมู่บ้าน เจ้ากวนได้เล่าให้ฟังว่าบ้านนี้มีหาดสวยงามกว้างใหญ่ในฤดูแล้ง หาดทรายจะโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำและหาดทรายแห่งนี้มีสิ่งอัศจรรย์อยู่คือ ถ้าปีใดหาดทรายโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำระหว่างหมู่บ้านประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อพระองค์ได้ทราบก็เกิดศรัทธาในใจว่า สักวันหนึ่งจะต้องย้อนกลับมาสร้างหมู่บ้านนี้ให้เป็นเมือง
ในราว พ.ศ. 1154 พระองค์ก็ได้เสด็จมาพร้อมด้วยข้าทาสบริวารเป็นจำนวนมาก เมื่อเสด็จมาถึง พระองค์จึงได้มอบให้เจ้าแสง ซ่งเป็นนายชั้นผู้ใหญ่เป็นคนควบคุมการก่อสร้างพร้อมกันนี้ก็ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ซึ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 1180 และขนานนามว่าพระอินทร์ใส่โฉม ซึ่ง่ต่อมาเรียกพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เมื่อเจ้าแสงก็ถึงกรรมลง ชาวเมืองได้สร้างหอหลักเมืองขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และขนานนามว่าหอแสง ต่อมาวัดแห่งนี้ก็ขาดคนบูรณะ และกลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ควาญช้างในหมู่บ้านนี้ได้ไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว และได้บอกบุญชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งและต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดพระโต |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
5
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,375
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,001,211
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
20 กันยายน 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|