ผาแต้ม เที่ยวอุบลราชธานี ทัวร์ท้องถิ่น
|
ผาแต้มสถานที่ไปถึงอุบลราชธานีต้องไปเยือน |
ผาแต้มมีผู้คนกล่าวว่าไปอุบลราชธานีถ้าไม่ได้ไปผาแต้มถึอว่าไปไม่ถึงเมืองอุบลราชธานี ผาแต้มตั้งอยู่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยูทางตะวันออกสุดของประเทศไทย มีผาชนะไดที่สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทยอยู่ในอุทยานแห่งชาติผาแต้มนี้ นอกจากภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่วาดลวดลายเขียนภาพสีเรียงรายไปตามหน้าผายาวที่สุดในประเทศไทยแล้ว ธรรมชาติที่สร้างสรรค์ความงามไว้อย่างวิจิตร ภูเขาทรุดตัวเป็นร่องให้แม่น้ำโขงผ่าน แบ่งสองฝั่งไทย-ลาวด้วยหน้าผาสูงชันเป็นทางยาว ประกอบกับสายลมช่วยกันตกแต่งหินทรายให้เป็นเสาเฉลียงเปรียบหอคอยประดับประดา ทำให้ผาแต้มมีมนต์เสน่ห์ให้ผู้คนที่ไปเที่ยวชมหลงใหล
ในอดีตชาวบ้านท้องถิ่นทำกินในบริเวณผาแต้มใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าแห่งนี้ เนื่องจากมีความเชื่อว่าผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม ภูผาเหล่านั้นมีความศักดิ์สิทธิ์นักเป็นภูผาแห่งความตาย ใครล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไปอาจเจ็บไข้ หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันพื้นที่ป่าภูผาแต้มได้ถูกเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เป็นพื้นที่บริเวณที่ภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากรเสนอขอให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าภูผาปรากฏภาพเขียนสีโบราณ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงยังไม่ถูกทำลาย และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงาม อาทิ
ทุ่งดอกไม้ป่าเป็นจุดท่องเที่ยวที่สร้างความประทับใจในธรรมชาติของพันธ์ดอกไม้ป่าพันธุ์ต่าง และเป็นดอกไม้ป่าที่สมเด็จฯพระนาเจ้าพระบรมราชินีนาถพระราชทานนาม ดอกไม้ป่าไว้ 5 ชนิด ได้แก่ ดุสิตา สร้อยสุสวรรณา ทิพเกสร มณีเทวา สรัสจันทร พันธุ์ดอกไม้ป่านี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ดอกไม้ป่าจะบานเต็มที่ ช่วงปลายเดือน พฤศจิกายน ถึงปลายเดือน ธันวาคม ของทุกปี
ผาเจ็ก-ผาเมยมีลักษณะเหมือนบริเวณผาแต้มและปรากฏภาพเขียนสีโบราณเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าภาพเขียนจะมีจำนวนน้อยกว่าก็ตาม แต่ลักษณะภาพเขียนสีที่พบแตกต่างกัน
ผาแต้มมีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 4,000 ปี เมื่อดูจากแม่น้ำโขงจะเห็นเป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติ ในบริเวณที่เป็นหน้าผาจะปรากฏภาพเขียนสีโบราณโดยฝีมือมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เรียงรายตามความยาวของหน้าผาติดต่อกันยาวประมาณ 180 เมตร มีไม่ต่ำกว่า 300 ภาพ ซึ่งเป็นจำนวนภาพเขียนสีโบราณที่มากที่สุดเท่าที่เคยค้นพบในประเทศไทยและในต่างประเทศ
เสาเฉลียงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำสายลมและแสงแดด มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งขึ้นมีส่วนบนเป็นแผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกันมองดูคล้ายดอกเห็ด เสาเฉลียงเป็นประติมากรรมหินทรายชิ้นเอกจากธรรมชาติ โดยประกอบจากหินทรายสองชุดคือหินทรายยุคครีเตเชียสชั้นบนซึ่งแข็งกว่า และหินทรายยุคจูแรสซิกชั้นล่างซึ่งอ่อนกว่า ถูกกระทำโดยน้ำและลมเป็นเวลายาวนานกว่าร้อยล้านปี จนเกิดกระบวนการต้านทานทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นแรงกดทับและแรงธรรมชาติอื่น ๆ ทำให้เม็ดทรายในเนื้อหินเชื่อมประสานกันแน่นขึ้น ส่งผลให้สามารถรักษารูปร่างได้ถึงปัจจุบันนี้ ส่วนชื่อเสาเฉลียงแผลงมาจากคำว่า "สะเลียง" ซึ่งแปลว่าเสาหิน
นอกจากนี้ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้มยังมีภูผาขาม ภูเขาหินทราย ข้างบนเป็นลานหินเรียบ ด้านล่างเป็นบริเวณที่ปรากฏภาพเขียนสีโบราณ เมื่อยืนดูอยู่ด้านบนจะเห็นทิวทัศน์ตามริมแม่น้ำโขงสุดสายตา เป็นทิวทัศน์ของป่าเขาและลำน้ำสวยงามมาก ภูโลง ได้มีการค้นพบโลงศพของมนุษย์อยู่ภายในซอกหิน ซึ่งไม่ถูกแดดไม่ถูกฝนอยู่บนภูโลง เข้าใจว่าเป็นโลงศพของมนุษย์สมัยก่อน ส่วนของกระดูกและสิ่งของภายในโลงหายไปก่อนที่จะค้นพบ ลักษณะของโลงใหญ่มาก ไม้ที่ใช้ทำโลงบางส่วนผุพังไปตามธรรมชาติ แต่ยังคงสภาพส่วนใหญ่อยู่
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
8
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,416
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,001,252
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
20 กันยายน 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|