ผาชัน เสาเฉลียงใหญ่ เที่ยวอุบลราชธานี
|
เที่ยวผาชันเลยไปเที่ยวเสาเฉลียงใหญ่ใกล้กัน |
ผาชันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานีที่อยากให้ท่านแวะเวียน ถึงแม้ผาชันจะไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตของจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเทียบกับผาแต้ม สามพันโบก หรือวัดวาอารามต่างๆที่มีอยู่มากมายของจังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะเป็นผาสูงชันทั้งสองฝากฝั่งแม่น้ำโขงไทยลาว ตรงบริเวณผาชันถือได้ว่าเป็นช่วงแม่น้ำโขงที่แคบที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี ลานหินกว้างและมีโบกหรือหลุมบนแผ่นหินมากมายคล้ายกับสามพันโบกแต่น้อยกว่า จุดเด่นของผาชันก็การล่องเรือชมผาชันเบื้องล่างยามแม่น้ำโขงลดระดับ ผาชันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ต่อเนื่องจากสามพันโบกเพราะอยู่ใกล้กัน
ผาชันตั้งอยู่บ้านผาชันอำเภอโพธิ์ไทรอยู่ทางทิศใต้ของสามพันโบก เส้นทางที่จะไปอำเภอโขงเจียมที่มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่มากที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี การเที่ยวผาชันต้องประสานล่วงหน้าครับโดยเฉพาะเรือ จะได้ไม่ต้องเสียเวลารอเพราะไม่ได้อยู่ประจำท่าเรือเหมือนที่สามพันโบก
แนะนำ ควรล่องเรือเที่ยวไปเรื่อยๆจากสามพันโบกต่อเนื่องถึงผาชัน ก็จะได้ชมความงามสองฝั่งโขงไทยลาวก่อนถึงผาชัน เป็นความงดงามน่าตื่นตาตื่นใจอีกแบบ แล้วขึ้นฝั่งที่บ้านผาชันให้รถวิ่งมารอรับ แต่จะต้องต่อรองราคากับเรือก่อนนะครับ เพราะราคาเรือที่สามพันโบกราคาจะมีมาตรฐานเฉพาะเที่ยวตามรายการที่สามพันโบกเท่านั้น แต่ถ้าหากใช้บริการทัวร์นำเที่ยวท้องถิ่นปัญหานี้จะไม่รำคาญใจไปโลด
เสาเฉลียงใหญ่เป็นสถานที่ต้องแวะเที่ยวชมต่อเนื่องจากการเที่ยวผาชัน เสาเฉลียงใหญ่ที่บ้านผาชันนี้ใหญ่กว่าเสาเฉลียงที่ผาแต้มมาก เห็นเสาเฉลียงใหญ่แล้วเปรียบเที่ยบเสาเฉลียงที่ผาแต้มที่ผ่แต้มจะเล็กกว่าเยอะ เสาเฉลียงใหญ่เหมือนดอกเห็ดขนาดใหญ่บนยอดเขาเลยทีเดียว เสาเฉลียงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำสายลมและแสงแดด มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งขึ้น มีส่วนบนเป็นแผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกัน
เสาเฉลียงเป็นประติมากรรมหินทรายชิ้นเอกจากธรรมชาติ เอาสาระคำว่าเสาเฉลียงนิดหนึ่งนะครับ(ลอกเขามา) เสาเฉลียงโดยประกอบจากหินทรายสองชุดคือหินทรายยุคครีเตเชียสชั้นบนซึ่งแข็งกว่า และหินทรายยุคจูแรสซิกชั้นล่างซึ่งอ่อนกว่า ถูกกระทำโดยน้ำและลมเป็นเวลายาวนานกว่าร้อยล้านปีจนเกิด "กระบวนการต้านทานทางธรรมชาติ" ซึ่งเป็นแรงกดทับ และแรงธรรมชาติอื่น ๆ ทำให้เม็ดทรายในเนื้อหินเชื่อมประสานกันแน่นขึ้น ส่งผลให้สามารถรักษารูปร่างได้ถึงปัจจุบันนี้ ส่วนชื่อ เสาเฉลียง แผลงมาจากคำว่า "สะเลียง" ซึ่งแปลว่าเสาหินครับ
แนะนำ การไปเที่ยวชมเสาเฉลียงใหญ่หากเป็นรถตู้สามารถเข้าไปใกล้ได้ครับ แต่ต้องเดินขึ้นเนินเขาเล็กอีกประมาณ 300 เมตรจะเห็นส่วนเสาเฉลียงใหญ่ด้านเดียว แต่ถ้าอยากจะเห็นทุกด้านต้องเดินต่ออีก 200 เมตร จะเห็นเสาเฉลียงใหญ่หมดทุกด้าน ซึ่งแต่ละด้านสวยงามต่างกัน
หากคณะเดินทางด้วยรถบัสต้องเดินไกลหน่อยนะครับรวมระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตรขาเดียว เดินไปกลับก็เหนื่อยเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน ถ้าช่วงอากาศร้อนยิ่งหนักเข้าไปอีก หากทัวร์นำเที่ยวท้องถิ่นช่วยประสานรถสองแถวพาเข้าไปจะสะดวกมากเลยครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
21
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,274
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,101,209
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
21 พฤศจิกายน 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|